เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
[34] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา

ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ
คำว่า ไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร อธิบายว่า
ไม่พึงกำหนด คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น
ซึ่งทิฏฐิด้วยญาณในสมาบัติ1 8 ญาณในอภิญญา2 5 มิจฉาญาณ ศีล วัตร หรือ
ทั้งศีลและวัตร
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
คำว่า ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่า เสมอเขา อธิบายว่า ไม่พึงเอาตนเข้าไป
เทียบว่า "เราเป็นเช่นเดียวกับเขา" ด้วยชาติ โคตร ความเป็นบุตรของตระกูล ความ
เป็นผู้มีรูปงาม ทรัพย์ การศึกษา หน้าที่การงาน หลักแห่งศิลปวิทยา วิทยฐานะ
ความคงแก่เรียน ปฏิภาณ หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว รวมความว่า ไม่พึงเอา
ตนเข้าไปเทียบว่า เสมอเขา
คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา อธิบายว่า ไม่พึง
เอาตนเข้าไปเทียบว่า "เราด้อยกว่าเขา" ด้วยชาติ โคตร ... หรือสิ่งอื่นนอกจากที่
กล่าวแล้ว ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่า "เราเลิศกว่าเขา" ด้วยชาติ โคตร ... หรือ
สิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว รวมความว่า ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือ
แม้เลิศกว่าเขา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 6/25
2 ดูเชิงอรรถข้อ 38/141

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :129 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา
[35] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
คำว่า ละตนแล้ว ในคำว่า ละตนแล้วไม่ยึดถือ ได้แก่ ละความเห็นว่าเป็นตน
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละความถือ
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจ
เชื่อ ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ชื่อว่าละตนแล้ว
คำว่า ไม่ยึดถือ ได้แก่ ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ด้วย
อุปาทาน 4 รวมความว่า ละตนแล้วไม่ยึดถือ
คำว่า ภิกษุนั้น ... ไม่สร้างนิสัยด้วยญาณ อธิบายว่า ไม่สร้าง คือ ไม่ให้เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งนิสัยด้วยอำนาจตัณหา หรือนิสัยด้วย
อำนาจทิฏฐิ ด้วยญาณในสมาบัติ 8 ด้วยญาณในอภิญญา 5 หรือด้วยมิจฉาญาณ
รวมความว่า ภิกษุนั้น ... ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย อธิบายว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน คือแยกกัน ถึงความเป็น 2 ฝ่าย กลายเป็นคน 2 พวก มี
ความเห็นต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัย
นิสัยด้วยอำนาจทิฏฐิต่างกัน ถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ถึงโทสาคติ(ลำเอียง
เพราะชัง) ถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ถึงภยาคติ(ลำเอียงเพราะกลัว) ภิกษุนั้นก็
ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปด้วย
อำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :130 }